ภาษาเครื่อง (machine language) เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่หนึ่ง (first-generation programming language: 1GL) ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถเข้าใจ คำสั่งเป็นตัวเลขล้วนๆ การอ่านและเขียนอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เป็น ภาษาหรือคำสั่งที่ใช้้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรง ลักษณะสำคัญของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสองซึ่งเทียบได้กับ ลักษณะของสัญญาณทางไฟฟ้าเข้ากับหลักการทำงาานของเครื่องสามารถเข้าใจและ พร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ทันที ภาษาเครื่องจะมีกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัดโปรแกรมมีลักษณะค่อนข้าง ยุ่งยากซับซ้อน รหัสโครงสร้างของแต่ลำคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
– รหัสบอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code
หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่บอกคำสั่งให้เครื่องทำการ
ประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบAdvertisement
– รหัสบอกตำแหน่งข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกว่า
ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลนั้นเก็บอยู่ในตำแหน่ง (Address)
ใดของหน่วยความจำ
ลักษณะของโปรแกรมจะประกอบด้วยกลุ่มของรหัสคำสั่งซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสองเรียงต่อกัน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบเทคนิคการใช้ รหัสคำสั่งและจะต้องจำตำแหน่งของคำสั่งและข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ เพราะเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละบริษัทจะใช้ภาษาเครื่องของตนเอง และผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี
ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องจึงมีผู้เขียนอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องมีความรู้ทางด้านเครื่องและรหัสของเครื่องจึงจะเขียนโปรแกรมได้ ภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ ก็จะต้องเขียนโปรแกรมใหม่